Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

S.A.C. Subhashok the Arts Centre – I-solated Beings

March 17, 2018 @ 6:00 pmApril 22, 2018 @ 9:00 pm UTC+7

S.A.C. Subhashok the Arts Centre - I-solated Beings

I-SOLATED BEINGS
Duo exhibition
by
Torlarp Larpjaroensook (Thai) and Andreas Schulenburg (Denmark)
Curators: Linjie Zhou (China) and Thomas Andersen (Denmark)
Date: 17th March 2018 – 22nd April 2018
Opening reception: 17th March 2018,7:00 pm
(For THAI version, please scroll down,ภาษาไทยดูข้างล่าง)

Subhashok the Arts Centre invites 2 artists, Thai artist Torlarp Larpjaroensook and Danish artist Andreas Schulenburg (Supported by Danish Arts Foundation), to lead a visual discourse on the relationship between the individual and society through the enjoyment of life in duo exhibition “I-solated Beings”. This exhibition is also supported the Royal Danish Embassy.

Danish and Thai cultures, though seemingly quite different in regards to climate and social norms, share a very similar social attribute in their valuing of comfort and joy in everyday life. Danish “hygge” and Thai “sanuk” are 2 examples of words that represent a conscious effort within each respective culture to connect the individual experience happily into the greater society. Though different in their communal ambience and energy, both expressions signify a focus on life to remove stress, to be kind, and to enjoy the present moment. It was the famous Danish philosopher, Søren Kierkegaard, who said, “Life is not a problem to be solved, but a reality to be experienced” and this message rings through in this duo exhibition. It could be argued that our personal and independent choices constitute our existence and Torlap and Andreas’ works provide the space to feel comforted in the present moment of our existences without attention being given to the times that lie ahead. They offer a freedom born from anxiety; that anguish we feel from our indecisions before we choose to live honestly.

This anxiety is present in many ways. With the ever-increasing flow of information around the world, our modern society lies conflicted. The pace to establish a life of comfort and convenience leaves us both satisfied and alarmed. The future is uncertain and the plethora of options ahead will create contrasting dreams and desires. Our connection to each other is compounding as globalization grows and any fleeting ideas of a life of social independence are increasingly rebellious. As the world of technology keeps us more stationary, we desire to be mobile and we desire to be secure in the results of our actions. We fight between the calmness of our newfound comforts and the alarming sense that we are everyday feeling more alone. There exists a deflated energy that is inadvertently showing our fears in the unknown. We reveal our private worlds so we can stay in the public conversation. We packaged this through humor because it’s too dark otherwise. We miss who we were and we half-heartedly desire the return of nostalgia. We chase ideals in theory and re-contextualize our surroundings to make society a vision we can manage. And that’s where we find freedom.

U.S.O. (Unidentified Standing Object) by Torlarp Larpjaroensook

Torlarp Larpjaroensook was born in 1977 and raised in a houseboat in Ayutthaya, the ancient capital of Thailand. He started his study in formal art at the College of Fine Arts, Bangkok. Later on, he graduated with a BA majoring in Painting from the Fine Art Faculty at Chiang Mai University. Torlarp Larpjaroensook is a multidisciplinary artist who is interested in the interaction between people and artworks. He is also the founder of “Gallery Seescape”, an alternative art space, in Chiang Mai since 2008 in order to create connections between people and contemporary art. In 2009, he created a mobile gallery project called “3147966” and collaborated with other international artists. He had a solo exhibition “Bookshelf” at 8Q Singapore Art Museum in 2011, where his works were collected by the Singapore Art museum. He had another solo exhibition in Singapore, “In Progress”, at Richard Koh Fine Art Gallery. He was also invited to participate in Koganecho Bazaar 2013 in Yokohama, Japan to join the project of artist residency and to exhibit his artworks.

In “I-solated Beings”, Torlarp creates the U.S.O. (Unidentified Standing Object), invites viewers to discuss the correlations between object and space. Ever-present in the works of Torlarp are reassessments of the value of functions, materials, and locations. Through an “Unidentified Standing Object”, there lies an epiphany from the narrow mindedness. What we witness as a fully functional living space is an otherwise overlooked 20-year-old home water tank .The practically of the object and its new mobility (free from its previously fixed location) sets a contrasting thought afire that maybe we settle on the functionality of our creations prematurely. The tank has been fully repurposed and equipped with the makings of a modern living space; complete with bed and air con unit. The pre-existing conditions of the tools we devise in our cultures could be altered by a community that seeks to establish new connections to its environment. The appropriation of the water tank is guided by following the changes in surroundings whether remote in nature or active in public space. Furthermore, this “Unidentified Standing Object” explores aspects of community by offering new engagements through the compact and migratory living space. It acts on the expectations that society is curious when presented with unknown stimuli. It also offers a new-found public familiarity with an often neglected product from our everyday lives. In addition to the spectacle of its postmodern point of view, the U.S.O. also introduces an interesting concept, of the ultra-mobile living space. The fact that the U.S.O. can easily travel and takes up such a small area, allows the most liberal aspirations of a minimalist-migratory living to be examined. Torlap’s previous work, the mobile gallery “3147966” from 2009, introduced this aesthetic of the compact, travelling unit. Outfitted in the back of an old truck, “3147966” brought the structure and function of a contemporary art gallery into a miniaturized form. The U.S.O. is a continuation of the mobile gallery’s conceptual community and provides a common experience to that of its predecessor; an imaginative and curious new possibility for a way to live one’s life. The modern style attributed to the U.S.O. also draws a connection to Torlap’s past work in the form of the “Besto Boy” from 2009.

Andreas Schulenburg’s “Night”
Andreas Schulenburg (1975) was born in Germany and educated at the Royal Danish Academy of Fine Arts in Copenhagen. Schulenburg produces works in a variety of media and perspective – such as ceramics, drawing, felt and sculpture. Felt is manifested in works of sculpture and 2D imagery in a range of sizes. This material continues to be his preferred medium as seen in this exhibition.

The common theme in Schulenburg’s work is a profound focus on the imaginative and its relationship to nature and culture. His felt works hold a rather poetic sensibility, where the soft expression of the felt always covers serious issues that often refer to the human existence and its different threats; i.e. natural disasters. Through the engagement of the felt sculptures and objects there is a space to change our usual view of the logic of things. The perspective is often comedic and bizarre giving pause to our traditional ways of thinking about the environment or society. The juxtaposition of the cushy felt and the socially-distant content give off an almost surreal image. Many of the objects radiate a hallucinogenic tone, one that manipulates the viewer into feeling comfortable. The deconstruction of these intense moments into comfort is uniquely absurd and funny. It helps us appreciate the beauty in our circumstantial moments. There is a deeper phenomenon under the surface of these works, one that requests a playful imagination and an aim to reverse logic.

For this exhibition, he brings his latest felt-produces works that are centered around the night. The representation of this is delivered through the darkness and the light that emerges from this void; a light that manifests in shapes and shades and leaves the rest in the shadow. In a poetic way, the artist tries to point out the fine line between the calmness of the night and the alarming sense of darkness/ loneliness/ the unknown in this series. There are uncertain reactions to situations which rest below the veil of the attractive. While easy to create an image that exudes beauty, it’s much harder to create an image that evokes a feeling.

 

 

 

หอศิลป์ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานของศิลปินสองท่าน ได้แก่ ต่อลาภ ลาภเจริญสุข ศิลปินไทยจากจังหวัดเชียงใหม่ และ แอนเดรียส ชูเลนเบิร์ก ศิลปินชาวเดนมาร์กผู้ได้รับการสนับสนุนจาก Danish Arts Foundation โดยนิทรรศการในครั้งนี้ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนและสังคมผ่านนิทรรศการที่มีชื่อว่า “I-solated Beings”.

แม้ว่าวัฒนธรรมไทย และ วัฒนธรรมเดนมาร์ก จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทั้งสองประเทศกลับมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของการให้ความสำคัญกับความสุขสบายในชีวิตประจำวัน
คำว่า “ฮุกกะ” (Hygge) กับคำว่า “สบาย” คือ คำสองคำที่ใช้แสดงถึงความพยายามในการเชื่อมต่อประสบการณ์ความสุขของบุคคลหนึ่ง กับสังคมอันกว้างใหญ่รอบตัว ถึงแม้ว่าทั้งสองคำนี้จะแตกต่างกันในทางบรรยากาศ แต่ความหมายของทั้งสองคำนี้ก็เป็นสัญลักษณ์ถึงการผ่อนคลายความตึงเครียด ความมีน้ำใจ และการมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน
Søren Kierkegaard นักปรัชญาชาวเดนมาร์กเคยกล่าวไว้ว่า “ชีวิตไม่ใช่ปัญหาที่รอการมาแก้ แต่ชีวิตคือ ประสบการณ์จริงที่รอให้เราสัมผัส”
เมื่อนำมาประกอบกับแนวคิดในนิทรรศการนี้ ผลงานของทั้งสองศิลปินจึงเป็นดั่งพื้นที่ให้ผู้ชมได้รู้สึกผ่อนคลาย อยู่กับปัจจุบัน โดยที่ไม่ต้องสนใจถึงช่วงเวลาที่รออยู่ข้างหน้า และหยิบยื่นความอิสระปราศจากความกังวลใดๆ
ในยุคสมัยนี้ ข้อมูลต่างๆถูกส่งผ่านอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ความขัดแย้งก็มีมากขึ้นเท่านั้น จังหวะในการใช้ชีวิตของเราแต่ละคนที่จะเฟ้นหาความสุขสบายจึงเป็นไปได้ยาก และในขณะที่อนาคตนั้นยังไม่แน่นอน สิ่งต่างๆรอบตัวเรากลับเพิ่มความสับสนว่าสิ่งใดกันแน่ที่เราพยายามค้นหา
ในยุคที่ทุกคนต่างต้องการที่จะเชื่อมต่อถึงกันและกันผ่านเทคโนโลยีต่างๆมากยิ่งขึ้น การที่ใครสักคนต้องการจะแสวงหาความอิสระจากวงสังคมกลับกลายเป็นเรื่องแปลกและดูเหมือนเป็นพวกขวางโลกไปเสีย
โลกของเทคโนโลยีทำให้เราไม่จำเป็นต้องลุกไปไหน แต่เรากลับมีความต้องการที่จะก้าวออกไปข้างนอกมากขึ้น
เรากำลังดิ้นรนเพื่อหาความหมายของเส้นด้ายบางๆระหว่างความสงบกับความเหงา
ทุกวันนี้เราเผยแพร่เรื่องส่วนตัวเพื่อที่เราจะได้เป็นส่วนหนึ่งของวงสนทนาสาธารณะ และเราก็ห่อหุ้มเรื่องเหล่านี้ไว้ด้วยอารมณ์ขันอันลวงตา เพราะไม่เช่นนั้นมันอาจจะขมขื่นมืดมนจนเกินไป
เรากำลังวิ่งตามหาอุดมคติ และพยายามเปลี่ยนแปลงบริบทรอบตัวเรา เพื่อให้ทัศนคติที่เรามีต่อสังคมรอบตัวเรามองดูง่ายต่อการจัดการยิ่งขึ้น
และนั่นคือจุดที่เราค้นพบความอิสระ

U.S.O. (Unidentified Standing Object) by Torlarp Larpjaroensook
ต่อลาภ ลาภเจริญสุข เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2520 และเติบโตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้าเรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะวิจิตรศิลป์ เอกจิตรกรรม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อลาภ เป็นศิลปินมากความสามารถ และมุ่งเน้นความสนใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะและคนดู ต่อลาภยังเป็นผู้ก่อตั้ง Gallery Seescape พื้นที่ทางศิลปะที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2551 อีกด้วย
ในปีพ.ศ. 2552 ต่อลาภได้สร้างสรรค์โปรเจคท์แกลอรี่เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อ “3147966” และได้ร่วมมือกับศิลปินนานาชาติในโปรเจคท์นี้ด้วย ในปีพ.ศ. 2554 ต่อลาภได้จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวภายใต้ชื่อ “Bookshelf” ที่ 8Q Singapore Art Museum และผลงานเขาก็ถูกสะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์นี้อีกด้วย ต่อลาภได้ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องและในเวลาต่อมาได้แสดงงานเดี่ยวที่ประเทศสิงคโปร์อีกครั้งในชื่อ “In Progress” ที่ Richard Koh Fine Art Gallery และในปีพ.ศ. 2556 ได้เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักและจัดแสดงงานที่ โยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นในโครงการ Koganecho Bazaar 2013.
ในนิทรรศการ I-solated Beings ศิลปิน ต่อลาภ ได้สร้าง U.S.O. (Unidentified Standing Object) เพื่อเปิดประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวข้อที่มักถูกกล่าวถึงในงานของต่อลาภอยู่เป็นประจำ
ในผลงานชุด Unidentified Standing Object (U.S.O.) แม้จะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถใช้งานได้จริง แต่ในขณะเดียวกันมันก็คือแทงค์น้ำที่ถูกลืมมากว่า 20 ปีแล้ว ประโยชน์ใช้สอยของมันและอิสรภาพที่ได้รับ – ปราศจากการถูกตรึงไว้ที่ใดที่หนึ่ง – ได้กระตุ้นให้เราฉุกคิดว่าบางทีเราอาจจะยอมจำนนต่อประโยชน์ใช้สอยของสิ่งประดิษฐ์ที่เราสร้างขึ้นมาเร็วเกินไป แทงค์น้ำนี้ถูกตีค่าขึ้นมาใหม่ให้กลายเป็นพื้นที่อาศัยที่ทันสมัย และรอให้เราได้สรรสร้างความสัมพันธ์ให้กับสภาพแวดล้อมใหม่ของมัน ผ่านการติดตามวัตถุนี้ในพื้นที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นท่ามกลางธรรมชาติ หรือพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง U.S.O. ยังเป็นเหมือนเครื่องมือให้เราได้ค้นคว้าแง่มุมใหม่ๆของสังคม ด้วยการนำเสนอความเชื่อมโยงแบบใหม่ผ่านทางที่อยู่อาศัยเคลื่อนที่ ซึ่งมีขนาดเล็กและคล่องตัวในการอพยพย้ายถิ่น
U.S.O. ถูกออกแบบภายใต้แนวคิดที่ว่า สังคมมักเกิดความสงสัยและกระตุ้นความสนใจเมื่อมีวัตถุกระตุ้นที่เราไม่รู้จักมาอยู่ตรงหน้า ในขณะเดียวกันประติมากรรมขนาดใหญ่นี้ยังทำหน้าที่เพื่อเชื่อมโยงความคุ้นเคยไปถึงวัตถุที่สามารถหาได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันอีกด้วย ผลงานชุดนี้ นอกจากจะเข้มข้นในมุมมองแนวคิดแบบ postmodern แล้ว U.S.O.ยังนำเสนอถึงแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับพื้นที่อยู่อาศัยเคลื่อนที่ ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปอยู่ในพื้นที่ต่างๆ และกินพื้นที่น้อย อีกทั้งช่วยให้เราค้นพบพื้นที่สำหรับการอพยพย้ายที่อยู่แบบมินิมอลได้อย่างอิสระ
ในผลงานยุคปี พ.ศ. 2552 ในงานชุด “3147966” ต่อลาภได้นำเสนอโครงสร้างและวัตถุประโยชน์ของแกลอรี่ศิลปะร่วมสมัยใส่บนหลังรถบรรทุกขนาดย่อม และในครั้งนี้ U.S.O. ก็เปรียบเสมือนการต่อยอดจากแนวคิดนั้น ให้เป็นดั่งวัตถุเคลื่อนที่ ที่เผยให้เราได้สามารถสร้างประสบการณ์ร่วมกันได้อีกด้วย

Andreas Schulenburg’s “Night”
แอนเดรียส ชูเลนเบิร์ก (เกิดปีพ.ศ. 2518) เกิดที่ประเทศเยอรมนี และสำเร็จการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์จาก Royal Danish Academy of Fine Arts ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แอนเดรียสสร้างผลงานมาแล้วหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เซรามิค ผ้าสักหลาด และงานประติมากรรม ผลงานจากผ้าสักหลาดของเขาปรากฏให้เห็นทั้งผลงานแบบสองมิติและสามมิติ หลากหลายขนาด และวัสดุนี้ยังถูกต่อยอดนำมาใช้ในนิทรรศการนี้ด้วย

แนวคิดหลักในการทำงานของ แอนเดรียส ชูเลนเบิร์ก มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม วัสดุดังเช่น ผ้าสักหลาดในผลงานของศิลปิน มีทั้งความอ่อนไหวดั่งบทกวี และห่อหุ้มความตึงเครียดที่มักจะตั้งคำถามถึงการเป็นอยู่ของมนุษยชาติ และภัยจากธรรมชาติ
นิทรรศการนี้นำเสนอพื้นที่ว่างให้เราได้ค่อยๆเปลี่ยนแปลงมุมมองและทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆใหม่ ผ่านวัตถุและประติมากรรมที่ทำจากผ้าสักหลาด และมุมมองที่บางครั้งอาจดูชวนขำขันและแปลกตาไปบ้าง เพื่อให้เราได้หยุดมองสภาพแวดล้อมและสังคมรอบตัวเราบ้าง
ผลงานหลายชิ้นในนิทรรศการนี้เปี่ยมล้นไปด้วยโทนสีแปลกตา ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้วัสดุที่มีความอ่อนนุ่มสร้างความรู้สึกตรงกันข้ามกับประเด็นสังคมที่ศิลปินพูดถึงจนทำให้ผลงานชุดนี้ดูมีความเหนือจริงขึ้นมา ชั่วขณะเวลาที่ความเข้มข้นทางความคิดถูกแปลงเพื่อให้บรรยากาศรอบข้างผ่อนคลายขึ้น จนกลายเป็นความบ้าบิ่นและขบขันในเวลาเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้เราซาบซึ้งถึงความงามในช่วงเวลาต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ผลงานของศิลปินมีความลุ่มลึกภายใต้พื้นผิวที่หลอกตา ส่งผลให้เกิดการพลิกผันในตรรกะ และเรียกร้องให้เราใช้จินตนาการอย่างสนุกสนาน
ในนิทรรศการนี้ แอนเดรียส ชูเลนเบิร์ก ได้นำผลงานชุดผ้าสักหลาดที่นำเสนอเรื่องราวในช่วงเวลายามค่ำคืน การนำเสนอผลงานชุดนี้ถูกเล่าผ่านความมืดและแสงสว่างที่เกิดขึ้นผ่านช่องว่างในสุญญากาศ แสงและเงาที่เกิดเป็นรูปทรงและทิ้งให้บางส่วนถูกกลบอยู่ภายใต้เงาดำ
ในแง่หนึ่ง ศิลปินกำลังชี้ให้เห็นถึงเส้นบางๆระหว่างความลุ่มลึกสงบนิ่งของช่วงเวลากลางคืน และความหวาดผวาต่อความมืดและสิ่งที่เรามองไม่เห็น มันอาจดูเหมือนง่ายที่จะสร้างผลงานที่เปล่งปลั่งด้วยความงดงาม แต่มันยากนักที่จะสร้างผลงานที่ปลุกเร้าอารมณ์ขึ้นมาได้
Art exhibition

Details

Start:
March 17, 2018 @ 6:00 pm UTC+7
End:
April 22, 2018 @ 9:00 pm UTC+7
Event Category:

Venue

S.A.C. Subhashok The Arts Centre
Soi Phrom Chit ,Sukhumvit 39
Bangkok, 10110 Thailand

Leave a Comment