- This event has passed.
S.A.C. Subhashok The Arts Centre – Beyond the final frontier
January 15, 2019 @ 10:00 amFebruary 21, 2019 @ 6:00 pm BMT
BEYOND THE FINAL FRONTIER
Visanu Euarchukiati, Prapat Jiwarangsan, Takuro Kotaka,
Arnont Nongyao and Chulayarnnon Siriphol
Curated by Lauren Reid
During 15 Jan – 20 Feb 2019
** ภาษาไทย เลื่อนลงด้านล่าง -scroll down for Thai version **
S.A.C. Subhashok The Arts Centre is pleased to present Beyond the Final Frontier. Curated by Berlin-based curator Lauren Reid, the exhibition will feature local and international artists and researchers. Through sound, scent and vision, visitors will be immersed in a sensory experience of outer space in the heart of Bangkok.
We are at a significant moment: NASA predicts that in 2030 humans will reach Mars. As of May 2018 3,793 exoplanets have been discovered, which can potentially or may already be supporting life. The dream of humans traveling further to outer space and even colonizing it are becoming more tangible. But still, very few people have ever been beyond the atmosphere of the Earth. Outer space exists mostly in our imaginations or in scientific data. The vast majority of us can’t touch it, hear it or exist within it…yet. However, when we look around, we start to find many signs of outer space already here in our daily life: maps of the stars can be found inside local temples, a UFO beaming out the dirt of our stained clothing appears on a laundry detergent packet, even the days of the week are named after the planets, the sun and moon. This exhibition then asks, how does speculating on other worlds teach us about Earth, ourselves, and our place in the universe?
For Beyond the Final Frontier, visitors will encounter two specially commissioned works: a soundscape of outer space based on recorded audio of daily life throughout Thailand by Arnont Nongyao, and a series of different ‘scents of space’ created in collaboration with astronomy enthusiast Visanu Euarchukiati. Artists Chulayarnnon Siriphol, Prapat Jiwarangsan and Takuro Kotaka will present multimedia works that explore our futures in relation to outer space and how they are reflected in Thailand today.
These works will be interspersed with scenes documented by the curator Lauren Reid where the everyday and outer space collide, from the rocket competition of Bun Bang Fai in Yasothon, to extraterrestrial believers camping on Kaokala in Nakhon Sawan. Though these works, we will journey beyond the final frontier to find ourselves grounded firmly back on Earth.
You are cordially invited to join the opening reception on 15th January 2019, 6:00 PM at S.A.C. Subhashok The Arts Centre, Sukhumvit 39, Bangkok. The exhibition will be displayed during 15th January – 20th February 2019, at Art Centre Bldg.-2nd floor. The show is curated by Lauren Reid and produced by Chol Janepraphaphan. For more information, please contact: email: manager@sac.gallery or tel. +66 2 662 0299, +662 258 5580 ext. 401. Follow the exhibition with official hashtag: #BTFF_SAC
** See some images of artworks : https://www.sac.gallery/exhibitions/2019/beyond-the-final-frontier/
/// About Artist ///
PRAPAT JIWARANGSAN
Prapat Jiwarangsan (born 1979, Bangkok) is a visual artist from Thailand with a strong background in interdisciplinary art and research. He works across a variety of media, especially photography and video, in order to investigate and represent the relationships between history, memory, and politics in Thailand—particularly in relation to the theme of migration. In the past four years, he has researched and developed a practice that explores the experience of migrant workers outside of their home countries.
His installations have been exhibited in Bangkok, London, Hong Kong, and Gwangju while his videos have screened at international film events such as Canada’s Image Festival, International Film Festival Rotterdam, Experimenta India, and Onion City Experimental Film and Video Festival.
TAKURO KOTAKA
Takuro Kotaka (born 1984, Saitama, Japan) is an artist and filmmaker who has stayed in many countries throughout Africa, Asia, and the Middle East, creating work based on themes such as rumours and forgotten symbols that cut deep into political issues. His recent films are a series of works that blend together sci-fi, humor, and documentary/fiction with societal systems and difficult histories.
His works have been presented in several film festival and exhibitions across the world including Painnale 2018 CMU Art Museum, Chiang Mai, Bangkok Biennial 2018 Whiteline, Bangkok, Oku-Noto Triennale: SUZU (2017) Ishikawa, Japan, Jakarta Biennale XIII ARENA Indonesian National Gallery, Jakarta (2009), KITA!!: Japanese Artists Meet Indonesia Selasar Sunaryo Art Space, Bandung, 56th International Short Film Festival Oberhausen Lichtburg Filmpalast, Oberhausen, (2009).
ARNONT NONGYAO
Arnont Nongyao’s (born 1979, Bangkok) practice centers on experimentation with vibrations that are derived from humans, organisms, things, and social forms. His works usually result in performance or installation, often in site-specific or public spaces.
Arnont is Co-Director of Chiang Mai Collective (CMC), an open network of innovative sound artists and practitioners in Chiang Mai. Arnont has presented his work widely at various exhibition and festival platforms locally and internationally, including Bangkok Art and Cultural Centre, Chiang Mai University Art Museum, 16th Media Art Biennale WRO 2015 in Wroclaw, Poland, Sa Sa Art Projects in Phnom Penh and Manif d’art, Quebec.
CHULAYARNNON SIRIPHOL
Chulayarnnon Siriphol (born 1986, Bangkok) works in short film, experimental film, documentary and video installation which are in-between personal memory and social memory, documentary and fiction, reality and supernatural.
Chulayarnnon has presented his work extensively in Thailand and abroad, including in The 34th International Film Festival Rotterdam, Netherlands (2005), the 26th Hamburg International Short Film Festival, Germany (2010), Can You Hear Me?, Objectifs Centre for Photography and Film, Singapore (2012), Sharjah Biennial 11, United Arab Emirates (2013), the 4th Moscow International Biennale for Young Art, Moscow, Russia (2014), The 5th Fukuoka Asian Art Triennale, Fukuoka, Japan (2014), Cannes International Film Festival, France (2018), and Ghost:2561 (2018).
VISANU EUARCHUKIATI
Visanu Euarchukiati (born 1962) is a Thai astronomy enthusiast and science historian. An active member of the Thai Astronomical Society, Visanu currently serves on the executive committee of the Society and played a major role in the production of Thailand’s first English-Thai Dictionary of Astronomy. He also writes and translates astronomy articles for magazines and has a book of astronomy tidbits and anecdotes published under his name. His special interests in astronomy cover archeoastronomy and star tales. Visanu is the publisher of a podcasting website Khaikhan Nithan Dao, telling star tales from all over the world in Thai language.
/// ABOUT THE CURATOR ///
LAUREN REID
Lauren Reid (born 1983, Melbourne) works across curating, film and anthropology. Her research results in exhibitions, writing and moving images that combine cultural artifacts, documentary sources, field recordings, artworks and artistic references. She is Co-Director of insitu collective, Lecturer in Curatorial Practice at Node Centre for Curatorial Studies, Co-Founder of the Project Space Festival Berlin and a PhD Candidate in Social and Cultural Anthropology at the Freie Universität, Berlin with the project Thinking Beyond the Final Frontier: Perception and Representation of Outer Space in Thailand. Since 2010, Lauren has curated over thirty exhibitions at locations such as the Moscow Museum of Modern Art for the IV Moscow International Biennale for Young Art; KW Institute for Contemporary Art, Berlin, Germany; Kunsthal Viborg, Denmark as part of the European Capital of Culture 2017; and Kunstverein Göttingen, Germany.
___________________________
*** WORKSHOP ***
“Imagining Our Futures in Outer Space”
Date: 19 January 2019, 2:00 – 5:00 PM.
Venue: Subhashok The Arts Centre, Bangkok
You are cordially invited to participate in a workshop as part of the exhibition titled Beyond the Final Frontier on Saturday 19 January 2019, during 2 – 5 pm. In this workshop, participants will playfully start to explore creative questions related to space: what are the sights, smells, sounds and sensations that we might experience when journeying beyond the Earth? What ethical and philosophical questions do we need to ask as humans to prepare for space exploration? We will then bring our insights together to each develop one component of a future encounter in space: a soundscape, an atmosphere, a landscape, and a dialogue. In the end, all of the elements were brought together to create a 2-minute film vignette of a speculative scenario in outer space.
The workshop will be in English with Thai translators. It is free and open to creatives and enthusiasts without age and experience restrictions.
**Please contact us to confirm your attendance in the workshop via email: lauren@lauren-reid.com **
___________________________
More info about S.A.C., visit : www.sac.gallery
or follow us at
-Facebook: sacbangkok
-Instagram : sacbangkok
-Twitter: @sacbangkok
-Youtube: SAC CHANNEL
Contact us:
Tel. 662 662 0299 , 662 258 5580 ext. 401
Email: manager@sac.gallery , info@sac.gallery
################################
นิทรรศการ Beyond the Final Frontier
โดย วิษณุ เอื้อชูเกียรติ ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ ทาคุโระ โคทากะ
อานนท์ นงค์เยาว์ และจุฬญาณนนท์ ศิริผล
คิวเรท โดย ลอเรน รีด
– 15 ม.ค. – 20 ก.พ. 62 –
ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ภูมิใจเสนอ นิทรรศการ Beyond the Final Frontier คิวเรทโดย ลอเรน รีด ภัณฑารักษ์ที่อาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี อีกทั้งเป็นภัณฑารักษ์ในพำนักของโปรแกรมS.A.C. Residency Program ครั้งที่ 2 โดยนิทรรศการจัดแสดงผลงานของศิลปิน นักวิจัยชาวไทยและต่างประเทศ ได้แก่ วิษณุ เอื้อชูเกียรติ ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ ทาคุโระ โคทากะ อานนท์ นงค์เยาว์ จุฬญาณนนท์ ศิริผล และลอเรน รีด นำเสนอทั้งในรูปแบบของเสียง กลิ่น และภาพ ซึ่งผู้ชมจะได้ดำดิ่งไปสู่ประสบการณ์การสัมผัสรับรู้ถึงอวกาศ ภายในพื้นที่จัดแสดงที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร
ขณะนี้เรากำลังอยู่ในห้วงเวลาที่สำคัญ ตามที่องค์การนาซ่าได้คาดการณ์ไว้ว่าในราวปีพ.ศ. 2573 มนุษยชาติจะได้ไปเหยียบดาวอังคาร อีกทั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมานี้ ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะจักรวาลมากถึง 3,793 ดวง ซึ่งในจำนวนเหล่านั้น มีโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะมีสภาพซึ่งเอื้อต่อการการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตได้ ความฝันของมนุษยชาติที่จะท่องอวกาศและอาจจะไปไกลถึงการตั้งอาณานิคมนอกโลก อาจไม่ไกลเกินเอื้อม อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน หากเทียบกับประชากรโลกแล้ว มีคนเพียงหยิบมือเท่านั้น ที่มีโอกาสออกไปนอกชั้นบรรยากาศโลก ที่ผ่านมา อวกาศปรากฎอยู่เพียงในจินตนาการของเราหรือในข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสที่จะสัมผัส ได้ยินเสียง หรือแม้กระทั่งออกไปผจญภัยในอวกาศ ถึงกระนั้น ถ้าเราสังเกตดูรอบตัวของเรา จะเห็นได้ว่า มีสัญญาณหรือสัญลักษณ์ต่างๆมากมายที่สื่อถึงอวกาศซึ่งพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ดวงดาวที่ปรากฎอยู่ในวัดวาอารามต่างๆในท้องถิ่น และภาพประกอบรูปยานUFOยิงแสงเลเซอร์สลายคราบสกปรกบนเสื้อผ้าซึ่งปรากฎอยู่บนกล่องผงซักฟอก หรือแม้กระทั่ง วันต่างๆในสัปดาห์ที่ถูกตั้งชื่อตามดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล รวมถึงดวงจันทร์และพระอาทิตย์ นิทรรศการนี้ได้ตั้งคำถามถึงการพิจารณาคาดเดาเกี่ยวกับโลกอื่นนอกพิภพและเรียนรู้ถึงโลกของเรา ตัวเรา และบ้านของเราในจักรวาลนี้ได้อย่างไรบ้าง
ในนิทรรศการ Beyond the Final Frontier ผู้ชมจะได้พบกับผลงานสุดพิเศษสองชิ้นที่รังสรรค์มาเพื่อนิทรรศการนี้โดยเฉพาะ คือ ภูมิโสต หรือ “เสียงของอวกาศ” ที่ได้มาจากการบันทึกเสียงในชีวิตประจำวันทั่วทั้งเมืองไทย โดย ศิลปิน อานนท์ นงค์เยาว์ และผลงานชุด “กลิ่นของอวกาศ” ที่สร้างสรรค์มาจากการร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ของเมืองไทยอย่าง คุณวิษณุ เอื้อชูเกียรติ นอกเหนือจากนั้น ยังได้ศิลปิน จุฬญาณนนท์ ศิริผล, ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ และทาคุโระ โคทากะ นำเสนอผลงานสื่อผสมที่ไม่เพียงกล่าวถึงอนาคตของมนุษยชาติอันมีความเกี่ยวข้องกับอวกาศเท่านั้น หากแต่ยังสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเองนั้น มองอนาตตของอวกาศอย่างไรอีกด้วย
ผลงานดังที่กล่าวมานี้ จะถูกติดตั้งสลับกับการแสดงผลงานภาพถ่ายโดย ภัณฑารักษ์ ลอเรน รีด ซึ่งเป็นภาพบันทึกบรรยากาศและเหตุการณ์ซึ่งชีวิตประจำวันและอวกาศได้มาบรรจบกัน ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันยิงบั้งไฟ ในเทศกาลบุญบั้งไฟที่จ.ยโสธร และการออกค่ายพักแรมบนเขากะลา จ.นครสวรรค์ ของกลุ่มผู้เชื่อในสิ่งมีชีวิตนอกโลก เป็นต้น ด้วยผลงานที่จัดแสดงทั้งหมดนี้ จะพาเราท่องไปสุดเขตแดนอวกาศ จนกระทั่งได้พบว่าตัวเรานั้น ยังอยู่บนพื้นโลก
ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ขอเชิญทุกท่านเปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปสุดพรมแดนอวกาศ ในนิทรรศการ Beyond the Final Frontier ระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 20 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องแสดงงานชั้น 2 อาคารหอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ สุขุมวิท 39 กรุงเทพฯ นิทรรศการคิวเรทโดย ภัณฑารักษ์ ลอเรน รีด และอำนวยการผลิตโดย ชล เจนประภาพันธ์ ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมงานเปิดนิทรรศการในวันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 18:00 น. ติดตามนิทรรศการด้วยแฮชแท็คหลัก: #BTFF_SAC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: manager@sac.gallery หรือ โทร. +66 2 662 0299, +662 258 5580 ต่อ 401
** ดูภาพผลงานบางส่วนได้ที่ : https://www.sac.gallery/exhibitions/2019/beyond-the-final-frontier/
/// เกี่ยวกับศิลปิน ///
ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2522 เป็นศิลปินทัศนศิลป์ชาวไทยที่มีพื้นฐานการทำงานด้านสหศาสตร์ศิลป์และการวิจัยเป็นอย่างดี ประพัทธ์สร้างสรรค์งานจากสื่อหลากชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานภาพถ่าย และวีดีโอ งานของเขามักเกี่ยวกับการสืบค้นและสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์, ความทรงจำ และการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ประพัทธ์ได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ของแรงงานต่างด้าวที่ออกมาทำงานนอกประเทศของตน
ผลงานศิลปะจัดวางของเขาได้ถูกนำไปแสดงมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในกรุงเทพฯ ลอนดอน ฮ่องกง และกวางจู ในขณะที่ผลงานจากสื่อวีดีโอก็ได้ถูกนำไปฉายในงานแสดงระดับนานาชาติมากมาย อาทิเช่น Canada’s Image Festival, International Film Festival Rotterdam, Experimenta India, and Onion City Experimental Film and Video Festival
ทาคุโระ โคทากะ
เกิดที่จ.ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีพ.ศ. 2527 เป็นศิลปินและผู้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์ที่ได้ไปอาศัยและทำงานในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง ผลงานของทาคุโระมักเป็นเรื่องราวของข่าวลือและสัญลักษณ์ต่างๆที่ถูกลืมอันสะท้อนถึงประเด็นทางการเมืองการปกครอง ผลงานภาพยนตร์ชุดล่าสุดของเขาเป็นการผสมผสานทั้งนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่องราวขบขัน รวมถึง สารคดี/นวนิยายเกี่ยวกับระบอบสังคมและประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนเข้าไว้ด้วยกัน
ผลงานของทาคูโระได้ถูกนำไปแสดงในเทศกาลภาพยนตร์และนิทรรศการต่างๆมาแล้วทั่วโลก เช่น Painnale 2018 CMU Art Museum, Chiang Mai, Bangkok Biennial 2018 Whiteline, Bangkok, Oku-Noto Triennale: SUZU (2017) Ishikawa, Japan, Jakarta Biennale XIII ARENA Indonesian National Gallery, Jakarta (2009), KITA!!: Japanese Artists Meet Indonesia Selasar Sunaryo Art Space, Bandung, 56th International Short Film Festival Oberhausen Lichtburg Filmpalast, Oberhausen, (2009).
อานนท์ นงค์เยาว์
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2522 เขาได้ทดลองกับแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดคลื่นเสียงอันได้มาจากมนุษย์, สิ่งมีชีวิต, วัตถุสิ่งของ และรูปแบบทางสังคม ผลงานของเขามักออกมาในลักษณะกระบวนการทดลองทางเสียงและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่สาธารณะ
อานนท์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Chiang Mai Collective (CMC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของศิลปินและผู้ที่สนใจด้านเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ เขาได้แสดงผลงานในนิทรรศการมาแล้วมากมาย ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 16th Media Art Biennale WRO 2015 in Wroclaw, Poland, Sa Sa Art Projects in Phnom Penh and Manif d’art, Quebec.
จุฬญาณนนท์ ศิริผล
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2529 ทำงานในด้านภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์ทดลอง สารคดีและงานวีดีโอจัดวาง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำส่วนตัวกับความทรงจำทางสังคม หรือ สารคดีกับนวนิยาย หรือ เรื่องจริงกับเรื่องเหนือธรรมชาติ
เขามีประสบการณ์แสดงผลงานมาแล้วมากมายทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศ เช่น The 34th International Film Festival Rotterdam, Netherlands (2005), the 26th Hamburg International Short Film Festival, Germany (2010), Can You Hear Me?, Objectifs Centre for Photography and Film, Singapore (2012), Sharjah Biennial 11, United Arab Emirates (2013), the 4th Moscow International Biennale for Young Art, Moscow, Russia (2014), The 5th Fukuoka Asian Art Triennale, Fukuoka, Japan (2014), Cannes International Film Festival, France (2018), and Ghost:2561 (2018).
วิษณุ เอื้อชูเกียรติ
เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2505 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และเป็นนักประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเป็นสมาชิกอาวุโสของสมาคมดาราศาสตร์ไทยและดำรงตำแหน่งเป็นกรรมบริหารสมาคมอีกด้วย รวมถึงยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดทำและผลิตพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ อังกฤษ-ไทย นอกเหนือจากนั้น วิษณุได้ทำงานเขียนและงานแปลบทความดาราศาสตร์ตีพิมพ์ในนิตยสาร รวมทั้งได้เขียนหนังสือที่ตีพิมพ์ในชื่อของตัวเขาเองเกี่ยวกับเกร็ดสาระน่ารู้ทางดาราศาสตร์ จากความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านดาราศาสตร์ของเขานั้น รวมไปถึงประวัติศาสตร์โบราณคดีทางดาราศาสตร์ นิทานปรัมปราเกี่ยวกับดวงดาว ทำให้เขาได้เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุทางพ็อดคาสต์ ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ว่า “ไขขานนิทานดาว” เป็นรายการที่เล่าเรื่องนิทานดาวจากอารยธรรมต่างๆทั่วโลกในเสียงภาษาไทย
/// เกี่ยวกับภัณฑารักษ์ ///
ลอเรน รีด
เกิดที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ทำงานด้านการจัดการนิทรรศการ, ภาพยนตร์ และมานุษยวิทยา ผลงานวิจัยของเธอได้ถูกนำเสนอผ่านทางนิทรรศการ งานเขียน และภาพเคลื่อนไหว โดยได้รวมเอาโบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม แหล่งต้นตอของสารคดีต่างๆ การบันทึกภาคสนาม ผลงานศิลปะ และการอ้างอิงทางศิลปะ เข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนั้น เธอยังเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการของกลุ่ม Institu และเป็นอาจารย์สอนด้านภัณฑารักษ์ศึกษาที่ Node Centre รวมถึงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการSpace Festival Berlin ขณะนี้ ลอเรน กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรมที่มหาวิทยาลัย Freie ณ กรุงเบอร์ลิน ด้วยหัวข้อโครงการวิจัย Thinking Beyond the Final Frontier: Perception and Representation of Outer Space in Thailand นับแต่ปีพ.ศ. 25553 จนถึงปัจจุบัน ลอเรนได้ทำงานจัดนิทรรศการมาแล้วมากกว่า 30 นิทรรศการ ในสถานที่ต่างๆหลายประเทศ อาทิเช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงมอสโคว์ ในงาน the IV Moscow International Biennale for Young Art; KW Institute for Contemporary Art, Berlin, Germany; Kunsthal Viborg, Denmark as part of the European Capital of Culture 2017; and Kunstverein Göttingen, Germany.
_______________________
** กิจกรรมเวิร์คช็อป **
“Imagining Our Futures in Outer Space”
วันเวลา: 19 มกราคม 2562 เวลา 14:00 – 17:00 น.
สถานที่: ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ สุขุมวิท 39 กรุงเทพฯ
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมเวิร์คช็อปเพื่อสำรวจจินตนาการอนาคตเกี่ยวกับการสำรวจอวกาศของมนุษย์ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 ภายในพื้นที่ห้องแสดงนิทรรศการ Beyond the Final Frontier ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ กับกิจกรรมเวิร์คช็อปที่ผู้เข้าร่วมจะได้สนุกสนานไปกับการสำรวจคำถามเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับอวกาศ ได้แก่ ภาพ เสียง และความรู้สึกแบบใดที่เราอาจประสบเมื่อเดินทางออกไปนอกโลก? สร้างคำถามเชิงจริยธรรมและปรัชญาที่จำเป็นเมื่อมนุษย์เตรียมตัวสำหรับการสำรวจอวกาศ? จากนั้นเราจะผสานความเข้าใจร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมแต่จะท่านจะมีโอกาสได้สร้างองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศในอนาคตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ภูมิโสต ภูมิทัศน์ บรรยากาศนอกโลก และบทสนทนา ซึ่งในช่วงท้าย แต่ละองค์ประกอบจะถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างเป็นภาพยนตร์สั้น 2 นาทีที่แสดงถึงสถานการณ์สมมติว่าด้วยความก้าวหน้าของการสำรวจในอนาคต
กิจกรรมเวิร์คช็อปนี้ดำเนินเป็นภาษาอังกฤษและมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม โดยให้อิสระและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการสร้างสรรค์ อีกทั้งไม่มีข้อกัดด้านอายุหรือประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม
** ผู้สนใจกรุณาติดต่อเพื่อยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางอีเมล์ lauren@lauren-reid.com **
_______________________
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอศิลป์: www.sac.gallery
หรือติดต่อเราได้ที่ โทร. +662 662 0299
อีเมล์: manager@sac.gallery