- This event has passed.
S.A.C Art Centre – Thanathorn Suppakijjumnong – Typeface
August 16, 2018 @ 10:00 amSeptember 16, 2018 @ 6:00 pm BMT
‘Typeface’
a solo exhibition by Thanathorn Suppakijjumnong
** ภาษาไทย เลื่อนลงด้านล่าง -scroll down for Thai version **
\’tip-,fas\ : a particular design of letters inspired by type of lives, loves, and relationships in the family
S.A.C. Subhashok The Arts Centre is proud to present Typeface, a solo exhibition by Thanathorn Suppakijjumnong in August 2018 showcasing her creative works of art.
“… We were born as consonants that could not be composed as a word yet. Mother and father are like vowels and intonation marks to fulfill us with meanings and shape our lives with their teachings… “
– The familiar sound returns….
Today, the sound of typewriting occurs again after disappearing for a long time since the typing school, the Suppakijjumnong family’s business, was shut down due to the dominance of computers. But this time, the role of the typewriter is different from the past; it is not used for creating any documents. Instead, Thanathorn Suppakijjumnong, the artist and a daughter of Suppakijjumnong family brings back the old typewriter to create works of art in a unique style. Every type tapped on a paper is not only writing words for linguistic meanings; but the words also represent the relationship, bond, and love in Suppakijjumnong family.
– The delicacy and great care of creating artworks
Awagami paper, an excellent quality of paper imported from Japan, is the material that the artist selected to create works of art as the fiber of paper is cohesive and durable as well as being able to retain the color of papers. The process of producing artworks starts with typing words on the paper, then cut into square shapes and fold them into a symmetrical composition. Subsequently, the folded papers are arranged methodically to visualize her self-portrait in various ages. With diverse colors of ink ribbons, they lead to reflect on the chronicle of the artist’s life. Love is the word that covers the whole area of the artwork and some parts are pasted with small letters written the teaching words of her parents, the teaching words that warmly nurture kids until grown-up. Aside from the diverse tones of characters that the artist can control them skillfully, an open-closed cover of each letter is the artist’s intention to invite audiences to interact with the works. Thus, each teaching letter can cultivate in their minds and all together form a new experience of warm nurture.
– ‘Typewriter’ a tool in the history and in contemporary ideas for interweaving diverse cultures into one
Typewriters with Thai keyboard was invented in 1892 by Mr.Edwin Hunter Macfarland, an American missionary and was given to King Rama V. The king was satisfied with the features after the first try and he became the first Thai-typewriter user. The typewriter is an important invention in the history of mankind that changed the way people communicate. The artworks by Suppakijjumnong revive the machine which is almost forgotten in the history back to life by employing it to depict her life’s stories in a contemporary way.
Besides the unique technique, Suppakijjumnong’s artworks act as significant records inscribing the connecting and interweaving of diverse cultures. Thai alphabets express the strength of national culture whereas English is the international language which is important for communication all around the world. With her outstanding ability, the language barriers collapse; remains only the implication of the language, the visual aesthetics of works and the attractiveness of letters. All of the significance mentioned above result in her artworks have been collected among international collectors whom although cannot understand the meaning of Thai words, the warm nurture can be communicated through visual forms of letters. The typeface connects people with the sensation of happiness and valuable memory that the artist creates with great care.
– You are cordially invited to join the opening reception on 16th August 2018, 6:00 PM at S.A.C. Subhashok The Arts Centre, Sukhumvit 39, Bangkok.
– Exhibition at 2nd floor, Art Centre Bldg., Subhashok The Arts Centre
– During 16 August – 16 September 2018
– Curated by Suphita Charoenwattanamongkhol
– Follow the exhibition with the official hashtag: #sactypeface
___________________________
/// Artist’s Biography ///
Thanathorn Suppakijjumnong was born in 1992 in Khon Kaen province, Thailand. She graduated with a bachelor’s degree in Printmaking from Mahasarakham University and earned a Master of Fine Art in Printmaking from Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University. During her study in the master’s degree, Suppakijjumnong had developed a printmaking technique with typewriters, the tools that she was familiar because her family used to run a typing school. Suppakijjumnong employed teaching words taught in her family to be typewritten with diverse colors of ink ribbons to create a variety of tones and values on papers; following by cutting, folding, and arranging numerous tiny pieces to self-portrait and family images which resemble her family’s photographs. Her distinctive works have won many major awards in Thailand, such as “ Bring Good Thing to life” Toshiba Art Awards in 2015 and The White Elephant Art Award in 2016. After graduated the master’s degree, her works have been interested and invited to exhibit in several group shows in Thailand and international stages. Suppakijjumnong is regarded as a remarkable young Thai artist whose creative works attract numerous art collectors in many countries.
___________________________
More info about S.A.C., visit : www.sac.gallery
or follow us at
-Facebook: sacbangkok
-Instagram : sacbangkok
-Twitter: @sacbangkok
-Youtube: SAC CHANNEL
Contact us:
Tel. 662 662 0299 , 662 258 5580 ext. 401
Email: manager@sac.gallery , info@sac.gallery
##########################
‘Typeface’
รูปอักษรที่สร้างขึ้นจากรูปแบบชีวิต…ความรัก…ความสัมพันธ์ของครอบครัว
ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ภูมิใจเสนอนิทรรศการเดี่ยว Typeface โดยศิลปิน ธนธร สรรพกิจจำนง จัดแสดง ณ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 16 กันยายน 2561
“….เราเองเปรียบเหมือนพยัญชนะที่เกิดมาแล้วยังไม่สามารถประกอบเป็นคำพูดได้ พ่อกับแม่เปรียบเสมือนสระและวรรณยุกต์ที่คอยเติมเต็มชีวิตเราให้มีความหมาย โดยผ่านคำสอนต่างๆประกอบขึ้นเป็นตัวเรา….”
ศิลปิน ธนธร สรรพกิจจำนง
– เสียงที่คุ้นเคยดังขึ้นอีกครั้ง………
วันนี้เสียงเคาะแป้นพิมพ์ดีดดังรัวขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เคยเงียบลงไป..เมื่อโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดธุรกิจในอดีตของครอบครัว “สรรพกิจจำนง” ต้องหยุดทำการเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาททดแทน แต่สถานะในวันนี้ของเครื่องพิมพ์ดีดไม่เหมือนเดิม เครื่องมือไม่ได้ถูกใช้เพื่อสร้างเอกสารใดๆอีกต่อไป เพราะศิลปิน “ ธนธร สรรพกิจจำนง ” ผู้เป็นทายาทของครอบครัว นำเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้สร้างผลงานศิลปะที่มีอัตลักษณ์ใหม่ ทุกสัมผัสของแป้นอักษรเครื่องพิมพ์ดีดที่กระทบลงบนหน้ากระดาษสร้างภาษาที่ไม่ใช่เพียงการร้อยเรียงถ้อยคำเพื่อสื่อสารความหมายเท่านั้น แต่กลับแสดงถึงภาษาแห่งความสัมพันธ์ สายใยชีวิตจากความรักในครอบครัวของ“สรรพกิจจำนง”
– ความพิถีพิถันและความใส่ใจต่อการสร้างสรรค์ผลงาน
กระดาษ วาริกามิ กระดาษคุณภาพเยี่ยมจากประเทศญี่ปุ่นเป็นกระดาษที่ศิลปินคัดเลือกมาใช้สร้างงานศิลปะของเธอเพราะคุณสมบัติเส้นใยเหนียว ทนทาน และไม่เปลี่ยนสีเมื่อผ่านกาลเวลา ศิลปินนำกระดาษที่ถูกพิมพ์ถ้อยคำต่างๆ ตัด พับสร้างองค์ประกอบสมมาตร จัดวางต่อกันเป็นรูปใบหน้าตนเองในช่วงวัยต่างๆ มีลูกเล่นที่เทคนิคการใช้สีของผ้าหมึกพิมพ์ดีดสะท้อนเรื่องราวแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน คำว่า “รัก” ครอบคลุมอาณาเขตโดยรวมของชิ้นงาน สอดแทรกด้วยจดหมายฉบับเล็กๆบันทึกคำสอนของพ่อแม่ที่ใช้กล่อมเกลาหล่อเลี้ยงลูกๆทุกคนให้เติบโตอย่างอบอุ่นตั้งแต่เล็กจนปัจจุบัน นอกจากรูปอักษรน่าทึ่งที่เกิดจากมิติน้ำหนักของตัวอักษรพิมพ์ดีดที่ศิลปินควบคุมได้อย่างเชี่ยวชาญ ลูกเล่นการปิด-เปิดจดหมายเล็กๆ ที่ศิลปินเจตนาให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผลงานศิลปะนั้นยังนับเป็นเสน่ห์พิเศษที่ทำให้ผลงานแต่ละชิ้นถูกจดจำสานต่อเรื่องราวโดยประสบการณ์ของผู้ชมที่ได้สัมผัสรายละเอียดนั้นๆอีกด้วย
– “ พิมพ์ดีด ”เครื่องมือในประวัติศาสตร์และแนวคิดร่วมสมัยที่ประสานรวมวัฒนธรรมแตกต่างให้เป็นหนึ่ง
เครื่องพิมพ์ดีดแป้นพิมพ์ภาษาไทยกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2435 โดย Mr.Edwin Hunter Macfarland หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้สร้างถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองพิมพ์และพอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง
จึงถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เป็นนักพิมพ์ดีดไทยคนแรก และเครื่องพิมพ์ดีดยังถือเป็นอีกนวัตกรรมสำคัญอย่างยิ่งที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์การสื่อสารของโลกให้มีประสิทธิภาพ สำหรับผลงานศิลปะของ ธนธร นับว่าศิลปินได้คืนชีวิตสู่เครื่องกลสำคัญของโลกที่กำลังจะถูกลืมเลือนไปในหน้าประวัติศาสตร์ให้มาบอกเล่าเรื่องราวใหม่ได้อย่างร่วมสมัย
นอกจากเทคนิควิธีการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานศิลปะของธนธรยังนับเป็นบันทึกหน้าสำคัญที่จารึกการผสมผสานเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่แตกต่างไว้ด้วยกันอย่างลงตัว การนำภาษาไทยที่แสดงถึงวัฒนธรรมแข็งแกร่งของชาติบ้านเกิดและภาษาอังกฤษภาษาสากลที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารของผู้คนทั่วโลกมาสื่อความหมายร่วมและด้วยชั้นเชิงของศิลปินทำให้กำแพงกั้นระหว่างความต่างของภาษาหายไป คงเหลือเพียงนัยยะความหมายของภาษา สุนทรียะของชิ้นงาน และความน่าสนใจของรูปอักษร ด้วยองค์ประกอบที่กล่าวมาทำให้ผลงานของศิลปินไทยอายุน้อยผู้นี้มีนักสะสมครอบครองในหลายประเทศ ถึงแม้นักสะสมจากหลากหลายเชื้อชาตินั้นไม่อาจจะเข้าใจความหมายของตัวอักษรไทยบนผลงานนั้นได้ครบถ้วน แต่ด้วยเนื้อหาลึกซึ้งอบอุ่น บริบทหน้าที่ของตัวอักษรที่ศิลปินสร้างขึ้นได้เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์ให้เข้าถึงกันโดยสัมผัสความสุข ความทรงจำที่มีคุณค่าของผู้สร้างสรรค์ได้
– ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมในงานเปิดนิทรรศการในวันที่ 16 สิงหาคม 2561 เวลา 6:00 น. ณ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ
– สถานที่: ห้องแสดงนิทรรศการชั้น 2 อาคารหอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์
– ระยะเวลานิทรรศการ: 16 สิงหาคม – 16 กันยายน 2561
– ภัณฑารักษ์: สุภิตา เจริญวัฒนมงคล
– ติดตามข่าวสารงานแสดงด้วยแฮชแท็คหลัก : #sactypeface
____________________________________________________
//// ประวัติศิลปิน ////
ธนธร สรรพกิจจำนง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดขอนแก่น ศึกษาศิลปะระดับขั้นปริญญาตรีสาขาภาพพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม และเดินทางมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาภาพพิมพ์ที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพ ในขณะที่ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ธนธร ได้พัฒนาเทคนิคการทำงานภาพพิมพ์โดยนำเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องมือที่ศิลปินคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะในอดีตครอบครัวเคยประกอบอาชีพโรงเรียนสอนพิมพ์ดีด ศิลปินนำคำสอนที่สื่อสารกันภายในครอบครัว มาพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดไล่น้ำหนักบนกระดาษ ตัด พับ จัดวางสร้างเป็นรูปใบหน้าตนเอง ใบหน้าสมาชิกภายในครอบครัว โดยมีรูปต้นแบบเป็นภาพถ่ายของครอบครัว ด้วยผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ศิลปินได้รับรางวัลใหญ่ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น รางวัลยอดเยี่ยมการประกวดศิลปกรรม นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตครั้งที่ 27 ในปีพ.ศ. 2558 และรางวัลสูงสุดในการประกวดศิลปกรรมช้างเผือกครั้งที่ 5 ปีพ.ศ. 2559 รวมทั้งหลังจากจบการศึกษาปริญญาโทผลงานของธนธรยังได้รับความสนใจอย่างมาก ได้รับเชิญให้ร่วมแสดงทั้งในและต่างประเทศ และเป็นศิลปินไทยอายุน้อยที่ผลงานได้รับเสียงตอบรับที่ดีอย่างยิ่งกับนักสะสมในหลายประเทศ
_______________________________
ดูข้อมูลเพิ่มเติม: www.sac.gallery
หรือติดต่อเราได้ที่ โทร. +662 662 0299
อีเมล์: manager@sac.gallery