- This event has passed.
Thonglor Art Space – Coronets by Nakrob Moonmanas
February 1, 2018 @ 1:00 pmFebruary 20, 2018 @ 8:00 pm UTC+7
— For English please scroll down —
Coronets
นิทรรศการเดี่ยวของ
นักรบ มูลมานัส
1 – 20 กุมภาพันธ์ 2561
ทองหล่ออาร์ตสเปซ ยินดีอย่างยิ่งที่จะนำเสนอกิจกรรมแรกของปีนี้ด้วยนิทรรศการ Coronets นิทรรศการเดี่ยวของนักรบ มูลมานัส ที่จะเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 โดยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์จะมีการแสดงพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Galleries’ Night 2018 จากสรีนา สัตถาผล (โดโจ)
หลังจากโด่งดังจากผลงานภาพประกอบแบบสองมิติ ในนิทรรศการ Coronets นี้ นักรบจะนำเสนอผลงานในรูปแบบของศิลปะจัดวาง (Installation art) โดยเล่นกับวัตถุที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีเช่น ชฎา ที่คนไทยมักมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความเพ้อฝัน นิทรรศการ Coronets พูดถึงองค์ประกอบของชฎา ทั้งแง่มุมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม โดยเฉพาะความยาวของชฎาที่ผิดแปลกไปจากรูปทรงเดิม การตกแต่งด้วยทองอย่างประณีต และน้ำหนักของชฎาที่ตกลงบนศีรษะของผู้สวมใส่ นอกจากนี้ชฎาทำให้ผู้สวมใส่ได้สวมบทบาทตามวรรณคดีและเรื่องเล่าต่าง
ๆ พร้อมทั้งรู้สึกถึงอำนาจอันทรงพลังที่มาพร้อมกับชฎา
ด้วยความเคารพและความสนใจในศิลปะไทยของศิลปิน นิทรรศการนี้นักรบได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ตีความหมายของชฎา ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมมองว่าไม่ควรทำ นิทรรศการนี้ได้มองชฎาในมุมมองที่ต่างออกไป จากที่เคยเป็นเครื่องประดับศีรษะที่แสดงออกถึงศิลปะชั้นสูง สู่วัตถุทางศิลปะร่วมสมัยที่ถูกนำมาจัดแสดงในบริบทใหม่ซึ่งปราศจากความเชื่อเดิมที่คนไทยมักมีต่อชฎาว่าเป็นวัตถุสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ ชฎาในปัจจุบันไม่ได้ทำมาจากทองคำอย่างเช่นในอดีต แต่ทำด้วยเทคนิคเปเปอร์มาเช่ (papier-mâché) และทาทับด้วยสีทองและกระจกแทน ดังนั้นหากพิจารณาตามกระบวนการผลิตเช่นนี้ ชฎาในปัจจุบันจึงไม่ได้มีคุณค่าในตัวเองดังเช่นสมัยก่อน จึงเห็นได้ว่าชฎาถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น การแสดงในเชิงพาณิชย์ อุปกรณ์ประกอบฉากภาพยนตร์ และพิธีรำแก้บน
ด้วยความสงสัยนี้ ชฎาในนิทรรรศการจึงถูกสั่งทำขึ้นเป็นพิเศษจากฝีมือช่างทำชฎาท้องถิ่นผู้มากด้วยประสบการณ์ ตามที่ศิลปินตั้งใจที่จะให้ชฎาออกมามีรูปทรงที่ผิดรูปผิดร่างไปจากเดิม นอกจากนี้ อุบะซึ่งเป็นดอกไม้ที่ห้อยประดับข้างหูของผู้สวมใส่ชฎาก็ถูกสั่งทำให้มีความยาวเป็นพิเศษ จนยาวไปจรดพื้นในตำแหน่งห้าจุด เปรียบได้กับส่วนของร่างกายห้าส่วนที่ต้องแตะพื้นขณะกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ นิทรรศการนี้จึงตั้งคำถามว่าสังคมไทยได้บ่มเพาะให้คนไทยเป็นคนที่ “อ่อนน้อม” อย่างเป็นระบบระเบียบอย่างไร เป็นไปได้ว่าเมื่อผู้ชมนิทรรศการไม่ทราบมาก่อนว่าชฎาในนิทรรศการ Coronets ไม่ได้ผ่านพิธีไหว้ครู ผู้ชมนิทรรศการอาจจะรู้สึกไม่เห็นด้วยกับการจัดวางชฎาในบริบทและรูปทรงแบบนี้ และยึดถือในความศักดิ์สิทธิ์ของทั้งพิธีไหว้ครูและชฎาอย่างเช่นเคย หรือเป็นไปได้ว่าชฎาในนิทรรศการนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มองวัตถุนี้จากมุมมองทางประวัติศาสตร์และในบริบทร่วมสมัย
นิทรรศการ Coronets เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ทองหล่ออาร์ตสเปซ เวลา 13.00 – 20.00 โดยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ จะมีการแสดงพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Galleries Night 2018 จากศิลปินสรีนา สัตถาผล (โดโจ)
—
Coronets
an exhibition by
Nakrob Moonmanas
1st – 20th February 2018
Thonglor Art Space is delighted to announce our first event of the year, “Coronets,” a solo exhibition by Nakrob Moonmanas, on view from 1st February to 20th February 2018, with a special performance by Sareena Sattapon on 10th February as a part of Galleries’ Night 2018.
Moving away from his well-established 2D collage illustration art, in Coronets, Nakrob introduces his first full-scale installation art exhibition, toying with the classical object – a “chada”. The work examines the chada as an embodiment of power and fantasy through the perception of Thai culture. Coronets studies both physical and abstract elements of a chada – its extensive height, elaborate gold decoration, and the weight on the wearer’s head, as well as allows the wearer to take a role in fantasy tales of old, and assume the sense of the dominating power that it offers.
With deep respect and personal interest in history and Thai classical art, Nakrob invites the viewers to take on a forbidden task of interpreting a chada, a high-art head ornament frozen in time, as a contemporary art object on display, free from its firmly-intertwined context of royalty and its associated dance. Instead of being made from solid gold, typical chada in the modern context are made of a papier-mâché type material decorated with gold paints and mirrors. Apparently without inherent value, chadas can commonly be found in commercial performances, as film props and in “Ram Kae Bon” ceremonial dance.
With this motive, the chada featured in the installation has been made by a veteran local chada-maker with an exaggerated and intentional distortion. Likewise, an ‘uba’, a flower decoration on the ear of the chada-wearer, has been transformed into long lines of flowers, curled up on five spots on the exhibition floor, signifying the five spots where the body touches the floor when one performs a “Benjankrapraditha Graab,” a five-point prostration. This is intended to provoke a question into how Thai culture systematically conditions its people into submission. Without realising that the exhibited chada is made without a sacred blessing from a traditional dance master, will the viewers be offended by it, and continue to perceive it as blasphemous act on spiritual object, or will it introduces a chance for viewers to inspect the object from historical and contemporary angles?
Coronets is on view at Thong Lor Art Space every day from 1 pm – 8 pm, from Thursday 1st to Tuesday 20th of February 2018, with a special performance by a performance artist, Sareena Sattapon (Dojo), on the 10th of February as part of Galleries Night 2018.
—