- This event has passed.
Tentacles – Two Young Indonesian Artists
May 31, 2017 @ 7:00 pmJune 4, 2017 @ 8:00 pm UTC+7
Reza Zefanya Mulia:
The contrast between “high” and “low” cultures has always fascinated me. Low culture is well-known for its predilection for bootlegging “the goods” from high culture. However, it seems high culture is now doing what low culture has been doing for years: an imitation of cheapness. In this residency project, I try to create an assemblage of things, combining the images from high fashion, the “real” objects they imitate, and the counterfeits that are easy to find in Bangkok’s fashion markets. In responding to this issue with paintings and embroideries, I create a new body of works and let myself celebrate the changing situation, “bootlegging” the ideas in my own way.
Reza Zefanya Mulia (b. 1994) is a visual artist who lives and works in Jakarta, Indonesia. He was the second prize winner at the 2016 Kompetisi Karya Trimatra Salihara (Salihara’s Three-Dimensional Art Award), before he received a grant to attend the residency program at Tentacles Gallery, Bangkok. During his residency, he focuses on the changing hierarchy of values in visual culture, especially in the fashion world.
//
Ajeng Martia Saputri:
At some point, I started feeling alienated in the middle of this new place—voices that I don’t understand, buildings that I’ve never seen before, scripts that I feel are just mere inscriptions without meaning. I compose myself whenever I feel outcasted, using the material and technique I put together in this body of work. Needles, thread, fabric, and scratches of a pen are my preferred tools to compose myself—to go deeper to my own world and forget the outside world for a moment. This artwork invites the audience to go inside, to feel the imaginary world inside my head, and to learn how I mitigate my own anxiety—not only when I feel lost in this strange culture, but whenever I feel lost in my own life.
Born in Semarang in 1992, Ajeng Martia completed her study at the Faculty of Art and Design at the ITB, with a major in Fine Arts (2011-2015). She lives and works at Bandung, Indonesia. Aside from being a visual artist, she also works in arts management and events coordination. During her residency at Tentacles, she explores her personal reactions to new surroundings and creates an art installation that shows how art can help her get through the anxiety.
———————————–
☆ for more information please contact info@tentaclesgallery.com ☆
ในค่ำคืนวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน (พร้อมกันกับงานเปิดนิทรรศการ
White Wash, Misconceived Object, และ The Shards Would Shatter At Touch ของแกลเลอรี่เพื่อนบ้านข้างเคียง ใน N22 Community) ศิลปินในพำนักของเรา, Reza Zefanya Mulia และ Ajeng Martia Saputri จะพาผู้ชมเข้าไปสัมผัสรับรู้ถึงกระบวนทัศน์ในผลงานของพวกเขา ผ่านกิจกรรม ‘นำชมโดยศิลปิน’ (Artists Tour) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ‘Two Young Indonesian Artists at Tentacles’ ที่จัดแสดงในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2017
กิจกรรมนี้เปรียบเหมือนการปิดท้ายอำลาโครงการพำนักในกรุงเทพ ฯ ของศิลปินรุ่นใหม่จากอินโดนีเซียทั้ง 2 คน และนี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายของผู้ชม ที่จะได้ร่วมพูดคุยสนทนากับศิลปินในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย
เวลา 19.00 น. ที่ Tentacles Art Space
——————————————-
– About Exhibition and Artists
Reza Zefanya Mulia:
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและชั้นล่างเป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผม เป็นที่รู้กันดีว่าวัฒนธรรมชั้นล่างมักลักลอบเอา “ของดี” มาจากวัฒนธรรมชั้นสูง อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมชั้นสูงกลับเป็นฝ่ายทำในสิ่งที่วัฒนธรรมชั้นล่างทำมาเป็นเวลาเนิ่นนาน ซึ่งได้แก่การเลียนแบบของถูก ในโปรเจ็คต์ระหว่างที่เป็นศิลปินในพำนักที่เทนเทเคิ่ลส์ ผมจึงพยายามประกอบชิ้นส่วนจากหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ผสมผเสภาพจากแฟชั่นชั้นสูง อันเป็นต้นฉบับที่ถูกลอกเลียนแบบ และของปลอมซึ่งมีขายเกลื่อนกลาดตามแหล่งขายเสื้อผ้าแฟชั่นในกรุงเทพมหานคร ผมได้โต้ตอบประเด็นนี้ด้วยภาพวาดและงานเย็บปักถักร้อย กลายมาเป็นกลุ่มผลงานใหม่ ที่เป็นโอกาสให้ผมได้อ้าแขนรับสถานการณ์ที่กำลังแปรผัน ถือเป็นการ “ลักลอบ” นำเอาความคิดเหล่านี้มาใช้ในแบบของผมเอง
Reza Zefanya Mulia (เกิดปี 1994) เป็นศิลปินทัศนศิลป์ อาศัยและทำงานในเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2016 เขาได้รับรางวัลรองชนะเลิศจาก Kompetisi Karya Trimatra Salihara (รางวัลซาลิฮาราสำหรับศิลปะสามมิติ) ก่อนที่เขาจะได้รับเงินสนับสนุนสำหรับโปรแกรมศิลปินในพำนักที่เทนเทเคิ่ลส์ ระหว่างที่เป็นศิลปินในพำนัก เขาพุ่งความสนใจไปยังระบบช่วงชั้นของคุณค่าในวัฒนธรรมทางสายตา (visual culture) ซึ่งกำลังแปรผัน โดยเฉพาะในโลกแฟชั่น
//
Ajeng Martia Saputri:
พอมาถึงตอนหนึ่ง ฉันเริ่มรู้สึกแปลกแยกในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยแห่งนี้ เสียงคนพูดที่ฉันฟังแล้วไม่เข้าใจ อาคารบ้านเรือนที่ฉันไม่เคยเห็นมาก่อน ตัวหนังสือที่ดูเหมือนจะเป็นแค่เส้นขยุกขยิกที่ไม่มีความหมาย เมื่อใดที่ฉันรู้สึกเหมือนถูกขับออกจากสังคม ฉันก็จะสงบอารมณ์ตนเองผ่านวัสดุและเทคนิคต่างๆ ที่ฉันใช้ในการกลุ่มงานนี้ขึ้นมา เข็มร้อยด้าย เส้นด้าย ผ้า และรอยเส้นปากกาเป็นเครื่องมือโปรดที่ฉันใช้ในการสงบอารมณ์ตนเอง เพื่อดำดิ่งลงไปในโลกของตนเองและลืมโลกภายนอกเป็นการชั่วคราว งานศิลปะชิ้นนี้เชื้อเชิญให้ผู้ชมมองเข้ามาข้างในตัวฉัน ให้ได้สัมผัสถึงโลกในจินตนาการของฉัน และให้ได้เรียนรู้ว่าฉันมีวิธีบรรเทาอาการวิตกกังวลของฉันเองอย่างไร ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในตอนที่ฉันรู้สึกหลงทางในวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคย และในตอนที่ฉันรู้สึกหลงทางในชีวิตของฉันเอง
Ajeng Martia เกิดที่เมืองเซอมารัง ประเทศอินโดนีเซียในปี 1992 สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์และการออกแบบจาก ITB (สถาบันเทคโนโลยีแห่งบันดุง) ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย นอกเหนือไปจากการทำงานเป็นศิลปินทัศนะศิลป์แล้ว เธอยังทำงานในการบริหารจัดการและประสานงานอีเว้นท์ด้านศิลปะ ระหว่างที่เป็นศิลปินในพำนักอยู่ที่เทนเทเคิ่ลส์ เธอพิจารณาปฏิกิริยาที่เธอมีต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ และจัดงานแสดงทางศิลปะขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า ศิลปะสามารถช่วยเธอจัดการกับอาการวิตกกังวลได้อย่างไร
——————————————-