Loading Events

« All Events

  • This event has passed.

Subhashok – The Concept of Self on Power, Identity and Labels

May 13, 2017 @ 6:00 pmJune 17, 2017 @ 9:00 pm UTC+7

Subhashok - The Concept of Self on Power, Identity and Labels

“The concept of self:
On power, identity and labels”
A Group exhibition featuring Indonesian and Thai artists

Curated by Linjie Zhou, Jeong-ok Jeon, Jongsuwat Angsuvarnsiri
Opening reception: May 13th 2017, 6:00 pm
Exhibition Duration: May 13th 2017– June 17th 2017

“[Theories in sociology] provides us with different perspectives with which to view our social world. A perspective is simply a way of looking at the world we live in”
-Mooney, Knox, and Schacht (2007)

“The concept of self: On power, identity and labels” is a dissection of contemporary cultures and how they mold and alter individual lives, gender, social power, and the ideologies of class structures. It draws upon sociological theories and analyzes the processes through which societies as a whole and groups within them can deal with the challenges associated with membership and interaction within a culture.

Social issues in contemporary Thailand and Indonesia are moved by a similar current of cultural transitions: redefining what it means to be a Southeast Asian. Introspection into the ever-changing society is prompting questions of “who decides what is normal?” and “how long does a cultural moment matter?” On the verge of a new regional structure, Thai and Indonesian societies are still finding and asserting what roles their cultures will play in ASEAN.
While historically collectivist, both nations are seeing rises in the development of artistic individualism and social critiques. The artists are embracing their inner muses and confronting the order of the communal culture.

We invite 9 artists: Alisa Chunchue (Thailand), Antonio S. Sinaga (Indonesia), Anon Pairot (Thailand), Chayanin Kwangkaew (Thailand), Chulayarnnon Siriphol(Thailand), Kitikun Mankit(Thailand), Patriot Mukmin (Indonesia), Theo Frids Hutabarat(Indonesia), Rega Ayundya Putri (Indonesia) to provide a conversation on the implications of macro and micro sociology of Southeast Asia as the self-concepts that emerged to distinguish a new age in Thai and Indonesian culture. Through various media such as photography, oil painting, video art and installation, the artists will explore the nuances in the expressions of identity and social interactions. Touching upon politics, superstitions, voyeurism, and self-analysis, this exhibition offers the necessary contrast and comparison to see how the individual is conditioned in this cultural shift.

The exhibition is a collaboration project by Subhashok the Arts Centre and ARCOLABS, supported by Indonesian Embassy, the opening reception will be on May 13 2017, 6 pm. Exhibition period will be from May 13th 2017– June 17th 2017

About the curators :
Linjie Zhou is a Bangkok-based Chinese curator at Subhashok the Arts Centre whose multi-cultural background provides interests in international creative exchange and greater cultural management; for which she had gained formal education at Chulalongkorn University of Cultural management in Thailand.

Jeong-ok Jeon is a Jakarta-based Korean curator who is actively engaging in South East Asian contemporary art, especially working on providing international exposures for regional artists in and outside of Indonesia. She has gained formal education at Savannah College of Art and Design in the US and now serves as the director at ARCOLABS in Jakarta.

Jongsuwat Angsuvarnsiri is the director and co-curator at Subhashok the Arts Centre. He has gained formal education at the Sotheby’s Institute of Art in London and is currently based in Bangkok. His personal interest in the art business, hybridized culture and sociology provides critical perspectives on this exhibition.

 

 

ทฤษฏีทางสังคมวิทยานำเสนอมุมมองใหม่ในการมองโลกนี้แก่เรา มุมมองเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการเฝ้าดูโลกที่เราอาศัยกันอยู่นี้
– Mooney, Knox, and Schacht (2007)

นิทรรศการ The concept of self: On power, identity and labels เป็นนิทรรศการที่ได้ตัดแบ่งวัฒนธรรมร่วมสมัยออก เพื่อศึกษาว่าวัฒนธรรมร่วมสมัยเหล่านี้มีผลกระทบต่อผู้คนอย่างไรบ้างในแง่ของการใช้ชีวิต ความเข้าใจเรื่องเพศสภาพ อิทธิพลทางสังคม ตลอดจนถึงอุดมคติในเรื่องของโครงสร้างชนชั้น นิทรรศการนี้นำเอาทฤษฏีทางสังคมมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการวิเคราะห์สังคมต่างๆทั้งในภาครวมและภาคย่อยต่างๆ ว่ากลุ่มสังคมเหล่านี้มีการแบ่งแยกคัดสรรหรือมีการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาต่างๆอย่างไรภายใต้บริบทสังคมของตน

หัวข้อทางสังคมในยุคร่วมสมัยของทั้งในประเทศไทยและในประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือการหาความหมายให้กับประเทศของตัวเองในบริบทของการเป็นหนึ่งในประเทศในเอเซียอาคเนย์ การมองสะท้อนกลับมาที่ตัวเองจึงเกิดคำถามที่ว่า ใครเป็นคนกำหนดว่าอะไรคือความปกติ? และ ช่วงเวลาแห่งวัฒนธรรมมีความสำคัญยาวนานเพียงใด? ในชั่วขณะที่ประเทศไทยและอินโดนีเซียกำลังอยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยนี้ สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จึงเป็นการหาคำตอบว่า ประเทศไทยและอินโดนีเซียจะรับบทบาทใดในฐานะหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน

แม้ว่าในทางประวัติศาสตร์แล้ว ทั้งสองประเทศที่หยิบยกมาพูดถึงในนิทรรศการนี้จะเป็น collectivist หรือประเทศที่คำนึงถึงสังคมเป็นหลัก แต่ในทั้งสองประเทศนี้ก็เริ่มมีการเติบโตขึ้นของศิลปะที่เป็นปัจเจกนิยมที่วิจารณ์สังคมมากขึ้น ศิลปินเหล่านี้กำลังเผชิญหน้ากับระบบการปกครองและวัฒนธรรมส่วนรวมที่อยู่รอบตัวเอง

ศุภโชค ดิ อาร์ตเซนเตอร์ได้เชิญศิลปิน 9 ท่าน อลิสา ฉุนเชื้อ(Thailand), Antonio S. Sinaga (Indonesia), Anon Pairot (Thailand), ชญานิน กวางแก้ว (Thailand), จุฬญาณนนท์ ศิริผล(Thailand), กิตติคุณ หมั่นกิจ(Thailand), Patriot Mukmin (Indonesia), Theo Frids Hutabarat(Indonesia), Rega Ayundya Putri (Indonesia) เพื่อนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับเอเซียอาคเนย์ภายใต้แนวความคิดแบบสังคมวิทยา เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมไทยและอินโดนีเซียในยุคใหม่ทั้งในแบบ Macro และ Micro
ศิลปินแต่ละท่านได้สำรวจถึงความละเอียดอ่อนในการแสดงออกถึงตัวตนและการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้คนในสังคมผ่านสื่อต่างๆเช่น ภาพถ่าย ภาพวาดสีน้ำมัน วิดีโอ ไปตลอดจนถึงศิลปะจัดวาง (installation) นิทรรศการนี้นำเสนอทั้งในเรื่องของการเมือง ความเชื่อ การเฝ้ามอง (voyeurism) และการสำรวจวิเคราะห์ตัวตน เพื่อที่จะเปรียบเทียบให้เห็นถึงการสร้างเอกลักษณ์และตัวตนในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางวิฒนธรรมนี้

นิทรรศการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ และ ARCOLABS

พิธีเปิดนิทรรศการวันที่ 13 พ.ค. 2560 และนิทรรศการจะดำเนินตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. ไปจนถึงวันที่ 17 มิ.ย. 2560

เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
หลินเจี่ย โจว เป็นภัณฑารักษ์ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้รับการศึกษาจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน ประจำอยู่ที่ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ ด้วยพื้นฐานที่ค่อนข้างหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้ หลินเจี่ย มีความสนใจทางด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ และการจัดการวัฒนธรรม
จยอง-อก จยอน เป็นภัณฑารักษ์ชาวเกาหลี พำนักอยู่ที่กรุง จาการ์ต้า จยอง-อก ได้รับการศึกษาจาก Savannah College of Art and Design จากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของ ARCOLABS ในจาการ์ต้า จยอง-อก สนับสนุนศิลปินร่วมสมัยในเอเซียอาคเนย์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้มีการนำเสนอศิลปะจากอินโดนีเซียทั้งภายในและนอกประเทศ
จงสุวัฒน์ อังคสุวรรณศิริ สำเร็จการศึกษาจาก Sotheby’s Institute of Art in London ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผุ้อำนวยการ หอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ มีความสนใจอย่างยิ่งในหัวข้อของ วัฒนธรรมผสม และ สังคมศาสตร์ รวมไปถึงมุมมองทางธุรกิจศิลปะ ซึ่งนำเสนอมุมมองในการวิเคราะห์วิจารณ์ในนิทรรศการนี้
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

Details

Start:
May 13, 2017 @ 6:00 pm UTC+7
End:
June 17, 2017 @ 9:00 pm UTC+7

Leave a Comment